บริษัท เก็ต เบสท์ โซลูชั่น จำกัด 

ตัวแทนจำหน่ายเครื่องวัดเสียง NTi อย่างเป็นทางการในประเทศไทย 

ให้คำแนะนำการใช้งานเครื่อง โดยวิศวกรที่จบด้านเสียงและความสั่นสะเทือนโดยตรงจากสถาบันที่ทั่วโลกให้การยอมรับ 


สนใจติดต่อเพื่อเข้าไปนำเสนอสินค้า


ติอต่อ ภูมิใจ ประเสริฐกุลวงศ์

(Msc. Sound and Vibration Studies, University of Southampton, UK) 


Mobile: 062-195-1909 


E-mail: sale@getbestsound.com 


เครื่องวัดเสียงคืออะไร 


สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

เครื่องวัดเสียง หรือ Sound Level meter ถูกใช้เพื่อการตรวจวัดค่าทางอคูสติก  คำว่า อคูสติก หมายความว่า เสียงที่เดินทางผ่านอากาศ   แต่สำหรับคำว่า ออดิโอ จะหมายความว่า เสียงที่เดินทางผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ เช่น สายสัญญาณ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดเสียง 


โดยคุณลักษณะที่สำคัญของเสียง ซึ่งวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นิยมใช้เครื่องวัดเสียงดัง คือ ระดับความดังของเสียงแบบเฉลี่ยตลอดทุกช่วงความถี่ (ฺBroad Band Level) และ ระดับความดังของเสียงในแต่ละช่วงความถี่ ซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรมของเสียงที่ความสำคัญอย่างยิ่ง 























เครื่องวัดเสียง จำเป็นจะต้องมีไมโครโฟน เพื่อใช้ในการวัดความเปลี่ยนแปลของระดับความดันอากาศซึ่งสร้างมาจากแหล่งกำเนิดเสียง ไมโครโฟนที่มีคุณภาพดี จะมีความแม่นยำสูง 


โดยไมโครโฟนสำหรับการตรวจวัดเสียง ในปัจจุบันได้แบ่งความแม่นยำออกเป็น 2 ระดับคือ Class 1 และ Class 2 


โดยไมโครโฟน Class1 จะมีความแม่นยำสูงกว่า Class 2 เล็กน้อย แต่ในการตรวจวัดเสียงหลายประเภทสามารถอนุโลมให้ใช้ไมโครโฟน Class 2 ได้ เช่น การตรวจวัดทางด้านอาชีวอนามัย (Occupational Noise)  


ปกติไมโครโฟน Class 1 จะนิยมใช้ในการทางด้านกฏหมาย หรือในงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต้องการความแม่นยำที่สูง โดยเฉพาะเสียงที่ความถี่ต่ำมากๆ ซึ่งไมโครโฟน Class 1 จะมีความคลาดเคลื่อนต่ำกว่าพอสมควร 


โดยสำหรับกฎหมายด้านเสียงรบกวน จะแนะนำให้ทำการสอบเทียบไมโครโฟนและเครื่องวัดเสียงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพื้นที่ในการตรวจวัดเสียงไม่ใช้สถานที่เดียว เช่น โรงงานเดียวกัน ตลอดทั้งปี  แต่อนุโลมให้ทำการสอบเทียบได้ 2 ปี ต่อครั้งสำหรับงานที่ทำการตรวจวัดเสียงในพื้นที่เดียวกันตลอด โดยไม่มีการย้ายสถานที่ตรวจวัด 


นอกจากการตรวจวัดระดับเสียงและ เครื่องวัดเสียงในปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า อย่างเช่น เครื่องวัดเสียง NTi รุ่น XL2 ยังสามารถตรวจวัดตัวแปรอื่นๆ ทางเสียงในสิ่งแวดล้อมได้อย่างหลากหลาย เช่น


- การตรวจัดระดับเสียงแยกตามความถี่ ทั้งแบบ 1/1  1/3 และ FFT  เพื่อศึกษารูปแบบเอกลักษณ์ของเสียง 

- การตรวจวัดค่าความก้องภายในห้อง เพื่อประเมินสภาพอคูสติกภายในห้อง (Reverberation Time)

- การตรวจวัดค่าความชัดเจนของเสียงพูด (STIPA)

- การตรวจัดประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงทะลุผ่านของระบบผนัง พื้น (Sound Transmission Loss) 

- การตรวจวัดสภาพความเงียบภายในห้องว่าเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่  (Noise Curve)