สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

5.  ค่าถ่วงน้ำหนักเวลา Time Weighting

โดยธรรมชาติแล้ว เสียงมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก หากต้องอ่านตัวเลขจากเครื่องวัดเสียงให้ทันกับเสียงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอ่านตัวเลขทัน ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดมาตรฐาน โดยการหน่วงระยะเวลาที่ตัวเลขทำการเปลี่ยนเปลงบนหน้าจอให้ช้าลง ตามมาตรฐาน IEC61672 ได้กำหนดสำหรับค่าถ่วงน้ำหนักเวลาแบบ Fast ให้ตัวเลขเปลี่ยนทุกๆ 125 มิลลิวินาที และ แบบ Slow ทุกๆ 1 วินาที ซึ่งผลจากค่าถ่วงน้ำหนักเวลาจะเป็นตัวเลขพื้นฐานในการคำนวณหาค่าอื่น ๆ โดยเฉพาะค่า Lmax และ L90 



2. การสอบเทียบ

โดยก่อนและหลังในวัดเสียงจะต้องมีการสอบเทียบเครื่องวัดเสียงทุกครั้ง ด้วยอุปกรณ์สอบเทียบแบบพกพา (Sound Calibrator) ความแม่นยำระดับ class 1 ตามมาตรฐาน IEC60942

 หมายเหตุ

ระหว่างการทดสอบ จะต้องไม่มีเสียงดังแบบทันทีทันใด เช่น เสียงคนคุยกัน เสียงปิดประตู หากเกิดเสียงดังแบบทันทีทันใด รบกวนระหว่างการวัดให้ทำการลบข้อมูลและทำการวัดใหม่อีกครั้ง
การทดสอบควรเกิดขึ้นภายในพื้นที่ที่ไม่มีคนอยู่บริเวณทดสอบ 

ภาคผนวก

นิยามความหมายของตัวแปรทางอะคูสติกที่ถูกกำหนดในมาตรฐาน Well Building Standard

1. ค่า Leq คือ ค่าระดับเสียงเฉลี่ยที่ได้จากการเฉลี่ยพลังงานเสียงทั้งหมดตลอดช่วงเวลาการตรวจวัดเสียง ตั้งแต่ต้นจนจบ



1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด

ตามมาตรฐานนั้นจำเป็นจะต้องใช้เครื่องวัดเสียงที่มีความแม่นยำในระดับ class 1 ตามมาตรฐาน IEC-61672 โดยมีการสอบเทียบไม่เกิน 1 ปี ตามาตรฐาน ANSI/ASA S1.4-2014 หรือ IEC 61672-1:2013 รวมทั้ง จะต้องใช้แหล่งกำเนิดที่มีการกระจายเสียงได้รอบทิศทาง (Omnidirectional Sound Source)


​4. ค่าการป้องกันเสียงทะลุผ่าน (Sound insulation)

ผนังและประตูจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงทะลุผ่านได้ดีเพียงพอ เพื่อป้องกันสาเหตุของเสียงรบกวนกันระหว่างพื้นที่ใช้งานที่อยู่ติดกัน และสร้างความเป็นส่วนตัวแก่พื้นที่ดังกล่าว เนื่องเสียงระบบผนังและประตูที่มีการป้องกันเสียงทะลุผ่านไม่ดีเพียงพอ จะทำให้เสียงรบกวนสามารถทะลุผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ง่าย ส่งผลให้เกิดความรำคาญ เสียงสมาธิรบกวนการพักผ่อน

 

4.1 มาตรฐานการป้องกันเสียงทะลุผ่าน

โดยผนังของทุกพื้นที่ภายในอาคาร จะต้องมีค่าดัชนีความแตกต่างของระดับเสียง (Dw) อย่างน้อยตามข้อกำหนดในตาราง 

6. ค่าการกั้นเสียงทะลุผ่าน Dw

เป็นการคำนวณผลต่างความดังของเสียงแต่ละความถี่แบบ 1/3 ออกเตฟ ตามข้อกำหนด ISO 140-4  และทำการหาดัชนี Dw ตามข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 717-1 ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่บ่งบอกประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงทะลุผ่านของระบบผนัง

ค่า Dw ยิ่งมากแสดงว่ากันเสียงทะลุผ่านตัวผนังได้ดี 

โดยที่

Category 1 พื้นที่การประชุม การเรียนการสอน และการบรรยาย
Category 2 พื้นที่ปิดซึ่งต้องการใช้สมาธิ เช่น การเรียน การฟังบรรยาย การทำงาน
Category 3 พื้นที่เปิดซึ่งต้องการใช้สมาธิ, พื้นที่ที่มีการใช้ระบบเครื่องขยายเสียง และพื้นที่สำหรับการรับประทานอาหาร
Category 4 พื้นที่สำหรับการทำงานของเครื่องจักร และบริเวณที่คนพลุกพล่าน เช่น ล๊อบบี้ ห้องครัว ห้องปฏิบัติการ หรือการประชาสัมพันธ์ 

บริการตรวจวัดค่าอะคูสติกตามมาตรฐาน  

WELL Building – Acoustic Performance Verification

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกโดยตรง และให้คำปรึกษาในการปรับปรุงเพื่อให้ได้ค่าตามมาตรฐานกำหนด 


ติดต่อ วิศวกรโบ๊ต 062-195-1909   line id: @getbest 




4. ค่าเปอร์เซ็นไทล์ของความดังเสียง

เป็นการใช้เทคนิคทางด้านสถิติในการคัดกรองค่าระดับเสียงที่ไม่ต้องการออกจากผลการวัด นิยมใช้ในการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานในสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราทำการตรวจวัดค่าระดับเสียงพื้นฐาน ณ บริเวณพื้นที่ใกล้ถนน แต่ระหว่างการวัด มีมอเตอร์ไซต์วิ่งผ่านบริเวณเครื่องวัดเสียงพอดี

การใช้ค่าระดับที่ เปอร์เซ็นต์ไทลที่ 90 L90 หมายความว่า ผลการวัดจะรายงานเฉพาะค่าระดับเสียงที่เบาที่สุด โดยมีเสียงในชุดข้อมูลอีก 90% ที่ดังกว่า ซึ่งเราไม่สนใจดังแสดงในรูป 

3. ค่าระดับเสียงพื้นฐาน (Background Noise Level)

ในทุกพื้นที่ภายในอาคารนั้น จะต้องมีเสียงพื้นฐานจากระบบปรับอากาศ หรือเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงภายนอกอาคาร เช่น เสียงรถที่วิ่งบนถนน เสียงอุปกรณ์เครื่องจักรที่ทำงานอยู่ หรือกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายในอาคาร เมื่อค่าระดับเสียงเหล่านี้ทั้งหมดเกิดกว่าระดับเสียงที่เหมาะสมที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรู้สึกไม่สบาย (Exceed comfortable levels) ทำให้พื้นที่ดังกล่าวภายในอาคารเกิดความไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน

เสียงจากระบบปรับอากาศสามารถทำให้ลดลงได้ด้วยการเลือกอุปกรณ์ที่เสียงเบา การออกแบบระบบท่อเพื่อลดการแปรปรวนของอากาศภายในท่อ เป็นต้น ส่วนเสียงจากกิจกรรมภายนอกอาคารสามารถควบคุมด้วยการออกแบบระบบผนัง หน้าต่าง ประตู ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงทะลุผ่านได้ดี 



​3.1 มาตรฐานของค่าระดับเสียงพื้นฐานภายในอาคาร

สำหรับทุกพื้นที่ยกเว้น พื้นที่มีการอาศัยและนอนหลับพักผ่อน (Dwelling Units) จะมีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐาน ไม่ให้เกินค่าระดับดังต่อไปนี้ 



2. ค่า Lmax คือค่าระดับเสียงสูงสุดที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาที่ทำการวัดเสียงตั้งแต่ต้นจนจบ

7. ค่าความก้อง Reverberation Time

ค่าความก้องสามารถทำการหาได้จาก ระยะเวลาที่เสียงมีความดังลดลงไป 60 เดซิเบล ดังแสดงในรูป 



​ค่าความก้องที่เหมาะสมจะขึ้นกับปริมาตรของห้องและฟังก์ชั่นการใช้งานห้อง โดยความก้องที่มากเกินไปส่งผลต่อการเข้าใจประโยคสื่อสาร เพิ่มระดับเสียงพื้นฐานภายในอาคาร ก่อให้เกิดความรำคาญ ในทางกลับกันความก้องที่น้อยเกินไปทำให้ ออกแรงมากขึ้นในการพูดคุยสื่อสาร ระบบเครื่องขยายเสียงจะต้องมีกำลังมากขึ้นเพื่อสร้างความดังที่สม่ำเสมอทั่วบริเวณพื้นที่ผู้รับฟังเสียง 

สรุปมาตรฐานเสียงของ WELL Building –

Acoustic Performance Verification

5.  ค่าความก้องภายในห้อง (Reverberation Time)

สภาวะอะคูสติกที่เหมาะสม เพื่อทำให้คนที่อยู่อาศัยมีความรู้สบายได้นั้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงค่าความก้องภายในอาคารด้วย พื้นที่มีความก้องกังวานสูง ส่งผลให้ค่าระดับเสียงพื้นฐานมีระดับที่สูงขึ้นและความก้องยังทำลายความชัดเจนของเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร ค่าความก้องสามารถควบคุมได้โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงบนฝ้าเพดาน ผนัง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่วางอยู่ภายในอาคาร 

มาตรฐาน Well Building กำลังได้รับความนิยมในการออกแบบหรือปรับปรุงอาคาร เพื่อทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร ได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเพื่อสุขภาพกายที่ดี โดยอะคูสติกคือ หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่มาตรฐาน Well Building ได้กำหนดเอาไว้ โดยในเอกสารฉบับนี้ จะเป็นการสรุป มาตรฐานที่เหมาะสมว่ามีค่าเท่าไหร่และอธิบายขั้นตอนวิธีการวัดอะคูสติกตามมาตรฐาน Well Building

โดยค่าทางอะคูสติก (Acoustics parameter) ที่มีการกล่าวถึงในมาตรฐานประกอบด้วย ค่าระดับเสียงพื้นฐาน (Background noise level), ค่าการป้องกันเสียงทะลุผ่าน (Sound insulation) , ค่าความก้องภายในอาคาร (Reverberation Time)  

 

3. ค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting)

เนื่องจากการตอบสนองของความดังเสียงของหูมนุษย์ในแต่ละความถี่มีความแตกต่างกัน นอกจานั้น พฤติกรมการรับรู้ความดังในแต่ละความถี่ยังขึ้นกับความดังของเสียงที่ได้ยินอีกด้วย

จากรูป จะเห็นได้ว่า Z-weighting คือค่าระดับความดังของเสียงที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดเสียง แต่หูของมนุษย์จะได้ยินเสียงแต่ละความถี่ซึ่งมีความดังไม่เท่ากัน ดังแสดงในเส้น A-weighting ที่ระดับความดังเสียงโดยทั่วไป (พูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า หูมนุษย์ไวต่อเสียงสูง แต่ไม่ไวต่อเสียงต่ำ) และหากเสียงมีความดังสูงมากๆ พฤติกรรมของหูมนุษย์จะเปลี่ยนไป โดยจะรับรู้ความดังของเสียงแต่ละความถี่ใกล้เคียงกันมากขึ้นดังแสดงใน C-Weighting 


​ซึ่งในการศึกษาเสียงในสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จึงมีการพิจารณาความดังเสียงโดยมีการคำนวณใส่ค่าถ่วงน้ำหนักความถี่เสียงลงในความดังแต่ละความถี่ เพื่อให้สอดคล้องกับการได้ยินของหูมนุษย์ โดยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ที่นิยม คือ แบบ A และ C