สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909
นอกจากการวัดประสิทธิภาพการป้องกันเสียงของผนังในห้องปฏิบัติการแล้วนั้น ยังมีการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันเสียงที่หน้างานจริง (On field) ซึ่งได้รับความนิยมเช่นกัน เนื่องจากการวัดในห้องปฏิบัติการจะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพการกันเสียงของระบบผนังจริง แต่ในความเป็นจริงแล้วเสียงไม่ได้เดินทางทะลุผ่านผนังที่กั้นระหว่างห้องเพียงอย่างเดียว แต่เสียงยังเดินทางผ่านโครงสร้างส่วนอื่นๆของห้อง ได้แก่ พื้น ฝ้าเพดาน และผนังที่เชื่อมต่อกันระหว่างห้อง ดังแสดงในรูปข้างล่าง ดังนั้นสำหรับโครงการที่ให้ความสำคัญเรื่องเสียงรบกวนจะมีการทดสอบการป้องกันเสียงที่หน้างานแทบทุกโครงการ เพื่อความมั่นใจสำหรับเจ้าของโครงการ
เราสามารถเปรียบเทียบค่า STC กับความรู้สึกในการได้ยินเสียงที่ทะลุผ่านผนังที่ค่า STC แตกต่างกันดังแสดงในรูป
โดยปกติแล้วการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของผนังจะทำการทดสอบภายห้องปฏิบัติการ โดยค่าที่ใช้เพื่อบ่งบอกประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของผนังเราเรียนว่า ค่า TL หรือ ค่า Sound Transmission Loss โดยค่า TL จะแตกต่างกันไปในแต่ละความถี่ของเสียง ซึ่งสามารถสรุปวิธีการทดสอบได้ดังต่อไปนี้ครับ
ห้องที่ใช้สำหรับทดสอบจะมีลักษณะเป็นห้องทึบ 2 ห้อง ที่อยู่ติดกัน ผนังภายในห้องสร้างคอนกรีตหนาอย่างน้อย 40 เซนติเมตร เพื่อให้ผนังสามารถป้องกันเสียงทะลุผ่านออกไปข้างนอกได้
โดยห้องที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง (Source Room) จะถูกวางลำโพงและเปิดเสียงสัญญาณที่ความดังสูงเข้าไปในห้อง ซึ่งเราจะติดตั้งระบบผนังที่ต้องการทดสอบค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงกั้นระหว่างห้องทั้ง 2
เมื่อห้องแหล่งกำเนิดและห้องผู้รับเสียง ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบ ทั้งมาตรฐาน ISO และ ASTM จะมีขั้นตอนในการตรวจวัดเสียงที่เหมือนกันดังต่อไปนี้
1.ทำการตรวจวัดค่าระดับเสียงพื้นฐาน (Background noise) ภายในห้อง Source และ Receiver
2.ทำการวางลำโพงในห้อง Source บริเวณที่ไกลจากผนังด้านที่ต้องการทดสอบ เพื่อลดผลกระทบ
ของ Direct sound จากลำโพง
3.ทำการสร้างสัญญาณเสียงผ่านลำโพง โดยใช้สัญญาณ Pink Noise ที่ช่วงความถี่ 50 Hz- 20kHz
4.ทำการวัดค่าระดับเสียงแบบ 1/3 ออกเตฟ ภายห้อง Source จำนวน 9 ตำแหน่ง ทั่วห้อง เพื่อนำมา
ค่าระดับเสียงเฉลี่ยของห้อง Source
5.ทำการวัดค่าระดับเสียงแบบ 1/3 ออกเตฟ ภายห้อง Receiver จำนวน 9 ตำแหน่ง ทั่วห้อง เพื่อนำ
มาค่าระดับเสียงเฉลี่ยของห้อง Receiver
6.ทำการวัดค่า Reverberation time ภายในห้อง Receiver โดยการปล่อยสัญญาญ Pink noise
ให้ค่าระดับเสียงคงที่ แล้วหยุดการปล่อยสัญญาณ เพื่อให้ Sound Level Meter ทำการตรวจวัด
ค่าความดังของเสียงที่ลดลงเทียบกับเวลา เพื่อคำนวณหาค่า T30
7. ทำการคำนวณค่า DnTw หรือ FSTC ตามข้อแนะนำในการคำนวณตามมาตรฐาน
มีการศึกษาว่า ค่า STC ที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ จะมีความสัมพันธ์เชิงสถิติกับค่า FSTC ดังแสดงในตารางดังต่อไปนี้
เมื่อทำการเปิดสัญญาณเสียงที่ห้องแห่งกำเนิดเราจะทำการวัดค่าระดับความดังภายในห้องแหล่งกำเนิดจำนวนอย่างน้อย 9 ตำแหน่งกระจายทั่วห้อง และหลังจากนั้นก็ทำการวัดระดับความดังของห้องผู้รับ (Receiving Room) ผลต่างของค่าเฉลี่ยระดับเสียงระหว่างห้องแหล่งกำเนิดทุกตำแหน่ง และห้องผู้รับ คือค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของระบบผนังที่ทำการทดสอบ
โดยเวลาที่ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง หรือค่า TL ถูกทดสอบ ห้องปฏิบัติการจะออกค่าผลทดสอบ แยกตามช่วงความถี่แบบ Octave มาให้ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากในการสื่อสารโดยเฉพาะกับวงการสถาปนิก เพราะการพูดค่าTL จะต้องระบุย่านความถี่ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย
ดังนั้น จึงมีการกำหนดค่าดัชนีที่เป็นตัวเลขตัวเดียวออกมาเพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารประสิทธิภาพของการป้องกันเสียงทะลุผ่านของระบบผนังแบบภาพรวม ค่านี้เรียกว่า ค่า STC หรือ Sound Transmission Class
การหาค่า Sound Transmission Class ไม่ใช่การหาค่าเฉลี่ยของ TL ทุกๆ ความถี่นะครับ แต่มีวิธีการหา โดยการใช้เส้น STC Contour ซึ่งกราฟมาตรฐาน และทำการขยับกราฟมาตรฐานขึ้นลงในแนวดิ่งเปรียบเทียบกับค่า TL ที่ได้จากการวัด โดยการขยับจะถูกทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- เมื่อรวมค่าผลต่างระหว่างค่าบน STC contour กับค่า TL ที่ได้จากการวัด จะต้องมีค่าไม่ เกิน 32 dB
- ค่าผลต่างสูงสุดของแต่ละจุด จะต้องไม่เกิน 8 dB
ค่า STC (Sound Transmission Class) คืออะไร และมีวิธีทดสอบอย่างไร