วิธีการทดสอบ ทำได้โดย การใช้เครื่อง MR-PRO ต่อเข้ากับระบบ เลือกโหมด Generator จากเมนูหลัก คลิ๊ก WAV และเลือก POLARITY
ปรับระดับเสียงของลำโพงให้เหมาะสม สามารถได้ยินเสียงสัญญาณ POLARITY ได้ชัดเจน
บนหน้าจอเครื่องวัด XL2 ให้เลือก Polarity จากเมนูหลัก และเลือก 123 จาก เมนูที่ 2
วางไมโครโฟน ให้ชี้ไปยังกึ่งกลางของลำโพง ที่ระยะห่างของลำโพง เท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำโพง ที่ทำการวัด
บนหน้าจอของเครื่อง XL2 จะแสดงทิศทางการทำงานของลำโพงแบบภาพรวม (Overall Polarity) ให้เห็น
กลับกันกับลำโพงที่ 3 ที่พลังงานส่วนใหญ่ อยู่ด้านบน ของหน้าจอ ทำให้ Overall polarity เป็น บวก
เนื่องจากการแสดงผลของ Polartiy แบบ ภาพรวม อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ เช่น ลำโพงทำงานผิดปกติเหมือนกัน ผลจากเสียงสะท้อน การวางตำแหน่งไมโครโฟนที่ทำการวัดไม่เหมาะสม ทั้งๆที่ Polarity อาจจะไม่เหมือนกัน แต่ภาพรวมยังคงแสดงว่า polarity นั้นเหมือนกัน
ดังนั้น บ่อยครั้ง Audio Engineer จึงทำการตรวจสอบ Polarity แยกตามช่วงความถี่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยสามารถเลือกเมนูที่สองเป็นแบบ Spectrum
รูปจากลำโพงที่ 1 แสดงให้เห็นถึง polarity ของแต่ละความถี่ โดย ตำแหน่งของเส้นทึบที่กึ่งกลางของแต่ละความถี่ คือ ทิศทางของ Polarity ในแต่ละความถี่ และความยาวของแถบสีเทาอ่อนของแต่ละความถี่ คือ พลังงานที่ได้รับในแต่ละความถี่
แต่หากมีดูรูปแบบของแต่ละความถี่จะเห็นว่า ลำโพงที่ 3 มีรูปแบบ polarity ของแต่ละความถี่ ต่างกับลำโพง 1 และ 2 อย่างสิ้นเชิง จึงสรุปได้ว่า ลำโพงที่ 3 มี polarity แตกต่างจากลำโพงที่ 1 และ 2 ต้องแก้ไขโดยการสลับสายลำโพง เพื่อให้ polarity ของลำโพงที่ 1, 2 และ 3 เหมือนกันทั้งหมด
สำหรับลำโพงที่ 2 พลังงานส่วนใหญ่ อยู่ด้านบน ของหน้าจอ ทำให้ polarity ภาพรวมแสดงค่าเป็น Positive
อย่างไรก็ตาม รูปแบบของแต่ละความถี่มีความเหมือนกัน แม้ว่าพลังงานส่วนใหญ่จะอยู่คนละฝั่ง เราก็ยังถือว่า ลำโพงที่ 1 และ 2 มี Polarity เหมือนกัน
รูปจากลำโพงที่ 1 แสดงให้เห็นถึง polarity ของแต่ละความถี่ โดย ตำแหน่งของเส้นทึบที่กึ่งกลางของแต่ละความถี่ คือ ทิศทางของ Polarity ในแต่ละความถี่ และความยาวของแถบสีเทาอ่อนของแต่ละความถี่ คือ พลังงานที่ได้รับในแต่ละความถี่
ในการติดตั้งระบบเสียงที่ถูกต้องนั้น ลำโพงประเภทเดียวกัน ควรจะมีทิศทางการทำงาน หรือ Polarity ที่เหมือนกัน