สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

สรุปกฎหมายเสียงรบกวนของประเทศไทย และบทลงโทษผู้กระทำผิด

กรณีผู้ประกอบการโรงางานอุตสาหกรรม ทำเสียงดังสร้างความเดือดร้อน

 โดยบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานดูโทษจะค่อนข้างหนักนะครับ

•  ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการตั้งโรงงาน มาตรฐานการปล่อยมลพิษ
    มาตรฐานความปลอดภัย : ปรับไม่เกิน200,000 บาท
    (มาตรา45 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535)
•   ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข ปรับปรุงโรงงานให้ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน : จำคุกไม่เกิน1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน5,000 บาทตลอดเวลาที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
    (มาตรา57แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน )



•    นำเครื่องจักรที่เจ้าหน้าที่ได้ระงับการใช้เนื่องจากก่อให้เกิดความเดือดร้อน
     กลับมาใช้อีก : จำคุกไม่เกิน1 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     (มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535)

 

กรณีสถานประกอบการ ทำเสียงดังสร้างความเดือดร้อน


·         ตั้งสถานบริการดาเนินกิจการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม หรือมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 4 ทวิ :

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่ง​ หยุดกิจการได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน(มาตรา 25 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

ฝ่าฝืนกฎกระทรวง ตามมาตรา 17 : ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท    (มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

 
หมายเหตุ: พอดีไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องข้อกฎหมายเท่าไหร่ครับ อ่านแล้วเวียนหัวทุกที พยายามสรุปให้ครบถ้วนที่สุดแต่ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยนะครับ

จากการให้คำปรึกษาแก่ผู้คนมากมายที่มีปัญหาได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเสียงรบกวนจากพื้นที่ข้างเคียง ส่วนใหญ่จะมีคำถามว่า เสียงรบกวนยังไง ดังแค่ไหนถึงจะเรียกว่าผิดกฎหมาย

จากการคำหาข้อมูลในอินเตอร์เนต พบว่า มีการอธิบายวิธีการคำนวณไว้ หลายเวป แต่ดูแล้วพบว่า ค่อนข้างเข้าใจยาก สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านอะคูสติกมาก่อน

วันนี้เลยได้เขียนบทความ ที่อธิบายแบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจกันว่า กฎหมายเสียงรบกวนในเมืองไทย ได้กำหนดไว้อะไรบ้าง และแบบไหนถือว่าผิดกฎหมายกันครับ

โดยอ้างอิงจาก ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535

มีการระบุไว้ว่า

(1)ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ

(2) ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ


โดยความหมายของกฎหมาย 2 ข้อนี้คืออะไร

ข้อแรก เอาง่ายๆคือ ตั้งเครื่องวัดเสียงไว้บริเวณที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบของเสียงดัง ตั้งเครื่องวัดทิ้งไว้เลยครับ 24 ชั่วโมง ถ้าระดับเสียงตอนหยุดวัด เครื่องโชว์ว่าเสียงเฉลี่ย  ในเครื่องโชว์เป็นอักษรแบบนี้ครับ  LAeq  ถ้ามากกว่า 70 dBA คือผิดกฎหมาย

ข้อสอง คือ เสียงขณะที่เราตั้งเครื่องวัดเสียงที่แกว่งไปมาตลอดการวัดซึ่งเป็นค่า Real time

 ในเครื่องจะเป็นตัวอักษร LAF จะต้องไม่แตะค่าสูงสุดคือ 115 dBA เลยแม้แต่ครั้งเดียว

โดยในเครื่องวัดเสียงจะบันทึกค่า LAF สูงสุดที่กำลังวัดได้ โดยแจ้งอยู่ในค่า LAFmax   

โดยค่า LAFmax จากหน้าจอเครื่องนี่แหละที่ห้ามเกิน 115 dBA เด็ดขาด

โดยกฎหมาย สอง ข้อนี้ จากประสบการณ์ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเกินหรอกครับ เพราะถ้าเกินนี่แสดงว่าเสียงดังรุนแรงมากจนอยู่ไม่ได้แน่นอน

แต่มันยังมีกฎหมายอีกข้อนึงที่สร้างปัญหามาตลอด คือ ค่าระดับเสียงรบกวน

โดยหากระดับเสียงรบกวนมากเกินกฎหมายกำหนด กฎหมายก็มีบทลงโทษไว้นะครับ

กรณีเพื่อนบ้านทำเสียงดังสร้างความเดือดร้อน

- กฏหมายตัวแรก -- 
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 และ 27 ใช้สำหรับกรณีที่เพื่อนบ้านสร้างความรำคาญโดยการเปิดเสียงดัง จัดงานเสียงดัง (กรณีจัดงานจริงจัง) ทำให้เราได้รับความเดือดร้อน สามารถไปแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐ ให้มาตรวจสอบ และระงับเหตุได้ครับ
แต่ถ้าหากว่ายังคงดื้อดึงทำอีก จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้ จากมาตรา 74 กล่าวคือ เมื่อทางนิติบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้บอกกล่าวตักเตือนแล้ว แต่เพื่อนบ้านของคุณไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จะต้องได้รับโทษโดย ถูกจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามกฎหมาย


-- กฏหมายตัวที่สอง-- 
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 เมื่อเพื่อนบ้านของคุณทะเลาะกัน
เสียงดัง คุณสามารถแจ้งต่อทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระงับเหตุทะเลาะวิวาท โดยมีบทลงโทษตามมาตรา 372 คือ ปรับไม่เกิน 500 บาท เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก


-- กฏหมายตัวที่สาม--
เพื่อข้างห้องเปิดทีวีเสียงดัง คุยโทรศัพท์เสียงดัง ในกรณีนี้อาจจะใช้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 623 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่วนที่ 5 เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุ ตามสมควร ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกรณีนี้จะเป็นลักษณะให้ไกล่เกลี่ย มากกว่าการเข้าจัดการครับ
อย่างไรก็ดีคาดว่าในอนาคต การทบทวนเรื่องกฏหมายเสียงรบกวน จะพิจารณาโทษให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นแน่ๆ ครับ เพราะเมืองแออัดขึ้นทุกวัน 


ดังนั้นหากใครมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยได้รับเสียงรบกวน หรือต้องการป้องกันไม่ให้เสียงจากห้องเราไปรบกวนเพื่อนบ้าน เพื่อสังคมที่หน้าอยุ่

ค่าระดับเสียงรบกวนนี่แหละที่ส่วนใหญ่จะทำผิดกันตลอด โดยค่าระดับเสียงรบกวนคืออะไร ผมจะอธิบายให้ฟังกันครับ

โดยอ้างอิงจาก ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ค่าระดับ เสียงรบกวน ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535


ข้อ 2 ให้กําหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบลเอ หากระดับการรบกวนที่คํานวณได้มีค่า มากกว่าค่าระดับเสียงรบกวนตามวรรคแรก ให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวน


วิธีการคำนวณจริงๆ ค่อนข้างยุ่งยากพอควร แต่ถ้าเอาแบบคร่าวๆ อธิบายให้เข้าใจก็แบบนี้เลยครับ


สมมุติว่า ผมเปิดโรงงานใกล้ชุมชม แล้วชุมชม แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐว่า โรงงานของผมทำงานสร้างเสียงดังรบกวนชุมชม

เจ้าหน้าที่เขต ก็จะเอาเครื่องวัดเสียงมาตั้งที่ชุมชน โดยเลือกบ้านที่ใกล้โรงงานผมที่สุด

หลังจากนั้นเค้าก็จะวัดความดังตอนที่โรงงานผมกำลังทำงานอยู่ครับว่าดังเท่าไหร่ โดยส่วนใหญ่เค้าจะตั้งเครื่องวัดเก็บข้อมูลประมาณ 1 ชั่วโมง

สมมุมติว่าโรงงานผมดัง 65 เดซิเบลเอ ก็ไม่ดังมากหนิ กฎหมายข้อแรกบอกไว้ว่า ให้ดังได้ตั้ง 70 เดซิเบลเอ ยังงี้โรงงานผมก็ไม่ผิดกฎหมายสิ

แต่เดี๋ยวครับ พอพักเที่ยงตอนโรงงานผมไม่ทำงาน เจ้าหน้าที่เค้าก็จะวัดเสียงที่เดิม ตอนช่วงเงียบๆ ซัก 5-10 นาที เป็นข้อมูลอีกตัวเก็บไว้

เจ้าหน้าที่เค้าจะเอาระดับเสียงเฉลี่ยตอนโรงงานผมทำงาน มาหักลบกับระดับเสียงตอนโรงงานผมหยุด ถ้าผลต่างมากกว่า 10 เดซิเบลเอ นั่นแสดงว่า โรงงานผมถือว่าทำผิดกฎหมายครับ คือสร้างเสียงรบกวนแก่ชุมชนมากเกินไป

 

หมายเหตุ จริงๆ การคำนวณซับซ้อนกว่านี้พอสมควรครับ แต่เอาง่ายๆให้เข้าใจกันแบบนี้ก่อน ถ้าผลต่างปริ่ม ๆ 10 เดซิเบลเอ หรือ เกิน 10 เดซิเบลเอ แน่ๆ ก็ไม่ต้องสืบครับ หากคำนวณตามที่กฎหมายกำหนดยังไงก็ไม่ผ่านแน่นอน !!!