บ่อยครั้งจะพบว่า เวลาเราจะซื้อเครื่องวัดเสียงซักตัวไว้ใช้งานนั้น พอเริ่มศึกษาหาข้อมูลพบว่า เครื่องวัดคุณสมบัติเยอะมาก แล้วเราจะเลือกเครื่องวัดอย่างไรให้เหมาะสมกับงานที่เราจะได้ไปตรวจวัดเสียง โดยบทความนี้จะเป็นการสรุปคุณสมบัติของเครื่องวัดที่เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ แบบง่าย เพื่อให้ผู้อ่าน ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องมือวัดได้นำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกซื้อครับ
โดยปกติงานตรวจวัดเสียงทั่วไปในเมืองไทยจะประกอบด้วย
1. ตรวจวัดเสียงภายในสถานประกอบการ เพื่อควบคุมไม่ให้ลูกจ้างสัมผัสเสียงที่ดังมากจนเกินไป และต้องนำผลวัดจัดทำเป็นรายงานส่งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกปีอีกด้วย
2. ตรวจวัดเสียงรบกวนในสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง หรือการประเมินว่าเสียงรบกวนจากกิจกรรมใดๆ กระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงหรือไม่
3. ตรวจวัดเสียงภายในอาคาร เพื่อใช้ในประเมินความสามารถในการป้องกันเสียงทะลุผ่านของระบบผนัง ฝ้า พื้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุง หรือออกแบบ ผนัง ฝ้า พื้น ภายในอาคาร นอกจากนั้นยังรวมถึงการตรวจวัดค่าระดับความเงียบภายในอาคารว่าเหมาะสม หรือไม่ เพราะความเงียบเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการอยู่อาศัยภายในอาคาร
4. ตรวจวัดสภาพอคูสติก (ค่าความก้อง, RT60 และค่าความชัดเจนของเสียงพูด, STI) ภายในอาคาร เนื่องจากอคูสติกภายในห้องจะส่งผลต่อความชัดเจนของการสื่อสารภายในห้อง หากในห้องมีเสียงก้องมาก จะทำให้เราไม่เข้าใจว่าคนที่พูดสื่อสารอะไร
5. ตรวจเช็คคุณภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวก้องกับเสียง เช่น คุณสมบัติและคุณภาพของลำโพง ระดับความดังของเสียงจากเครื่องจักรที่ผลิตออกมาว่ามีเสียงดังใกล้เคียงกับที่ออกแบบ หรือมาตรฐานที่ยอมให้มากน้อยแค่ไหน
6. ช่วยในการติดตั้งระบบเครื่องขยายเสียง เครื่องวัดเสียงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ Sound Engineer ทำงานติดตั้งเครื่องขยายเสียงได้ง่ายขึ้น แต่ยังคงให้คุณภาพเสียงที่เหมาะสม
ทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น คือรูปแบบของการทำงานที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดเสียง โดยแต่ละรูปแบบการทำงานต้องการคุณสมบัติปลีกย่อย ของเครื่องวัดเสียงที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ อย่างน้อย Class 2 เท่านั้น ตามมาตรฐาน IEC61672
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ Z
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 130 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 แยกความถี่การวัดได้อย่างน้อย 1/3 ออกเตฟ ขึ้นไป (ยิ่งวัด 1/12 และ FFT ได้จะมีประโยชน์มาก)
1.8 สามารถเปรียบผลวัดก่อนและหลัง และแสดงผลวัดในหน้าจอเดียวกัน
1.9 (ทางเลือก) สามารถวัด Polarity ของลำโพงได้
1.10 (ทางเลือก) สามารถวัด THD+N
1.11 (ทางเลือก) วัด impedance ของลำโพง
1.12 (ทางเลือก) วัดค่า RT และ STI ได้
1.13 เครื่องสร้างสัญญาณเสียงทั้ง Pink Noise และ STI เพื่อให้เครื่องวัดเสียงตรวจวัดและคำนวณต่อไป
1.1 เครื่องหน้าจอสี จะมองไม่เห็นเลยถ้าอยู่กลางแจ้ง และเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่สูง !!
1.2 เครื่องควรจะต้องมีตอบสนองได้ดี ไม่รอนาน ทั้งการเปิดเครื่อง หรือการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการทำงาน
1.3 ฟังก์ชั่นใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เพราะคนที่วัดส่วนใหญ่จะไม่เชี่ยวชาญเหมือนคุณ
1.4 บริการหลังการขาย ทั้งการใช้งาน นิยามของฟังก์ชั่นต่างๆในตัวเครื่อง จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยสนับสนุน
อ้างอิงจาก ประกาศกฏกระทรวงแรงงาน กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง 17 ตลุาคม พศ 2559 จึงสรุปออกมาได้ดังต่อไปนี้
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ ขั้นต่ำระดับ Class 2 ตามมาตรฐาน IEC61672
(ดูรายละเอียดความแตกต่างระหว่าง Class1 vs Class 2)
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq, Lmax, Lpeak
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ C
(ดูรายละเอียดความหมายของค่าถ่วงน้ำหนักแบบ A C (A, C weighting)
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 140 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 (ทางเลือก) สามารถวิเคราะห์ความถี่ของเสียงที่ทำการวัด
1.8 (ทางเลือก) บันทึกผลการวัดตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดได้ หรือที่เรียก ฟังก์ชั่น Logging
1.9 (ทางเลือก) บันทึกเสียงขณะทำการวัด เพื่อไว้ฟังภายหลังว่าเสียงที่เกินมาตรฐานเป็นเสียงอะไร
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ อย่างน้อย Class 2 เท่านั้น ตามมาตรฐาน IEC61672
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ Z
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 130 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 แยกความถี่การวัดได้อย่างน้อย 1/3 ออกเตฟ ขึ้นไป (ยิ่งวัด 1/12 และ FFT ได้จะมีประโยชน์มาก)
1.8 สามารถวัดค่าความก้อง RT60 ได้ ด้วยวิธีแบบ impulsive หรือ interuptted noise ความละเอียด 1/3 ออกเตฟ
1.9 เครื่องสร้างสัญญาณเสียงทั้ง Pink Noise และ STI เพื่อให้เครื่องวัดเสียงตรวจวัดและคำนวณต่อไป
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ อย่างน้อย Class 2 เท่านั้น ตามมาตรฐาน IEC61672
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ Z
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 130 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 แยกความถี่การวัดได้อย่างน้อย 1/3 ออกเตฟ ขึ้นไป (ยิ่งวัด 1/12 และ FFT ได้จะมีประโยชน์มาก)
1.8 สามารถเปรียบผลวัดก่อนและหลัง และแสดงผลวัดในหน้าจอเดียวกัน
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ อย่างน้อย Class 2 เท่านั้น ตามมาตรฐาน IEC61672
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ Z
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 130 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 แยกความถี่การวัดได้อย่างน้อย 1/3 ออกเตฟ ขึ้นไป (ยิ่งวัด 1/12 และ FFT ได้จะมีประโยชน์มาก)
1.8 สามารถวัดค่าความก้อง RT60 ได้ ด้วยวิธีแบบ impulsive หรือ interuptted noise ความละเอียด 1/3 ออกเตฟ
1.7 (ทางเลือก) แสดงค่า NC (์Noise criteria) บนหน้าจอได้ ขณะทำการวัด
1.1 เครื่องวัดเสียงจะต้องมีความแม่นยำ ระดับ Class 1 เท่านั้น ตามมาตรฐาน IEC61672
1.2 แสดงผลการวัดด้วยค่า Leq, Lmax, L90, LPeak
1.3 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบ A และ C
1.4 แสดงผลการวัดด้วยค่าถ่วงน้ำหนักเวลา (Time Weighting) แบบ Slow, Fast, Impulse
1.5 ตรวจวัดค่าดังได้มากกว่า 130 เดซิเบล โดยเฉพาะค่า LPeak
1.6 สามารถตรวจวัดความถี่ได้ครอบคลุมในช่วง 20-20,000 Hz
1.7 กรณีวัดกลางแจ้งจะต้องมีชุดป้องกันตัวเครื่องและไมโครโฟนจาก ฝน ฝุ่น และความร้อนจากแดด
1.7 บันทึกผลการวัดตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดได้ หรือที่เรียก ฟังก์ชั่น Logging
1.8 (ทางเลือก) บันทึกเสียงขณะทำการวัด เพื่อไว้ฟังภายหลังว่าเสียงที่เกินมาตรฐานเป็นเสียงอะไร
1.9 (ทางเลือก) วิเคราะห์แยกความถี่ของเสียงที่วัดได้ ซึ่งจะขึ้นกับงานที่วัด หากวัดเสียงสนามบินจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลผลการวัดแยกตามความถี่
1.10 (ทางเลือก) การควบคุมตัวเครื่องและการดูผลการวัดผ่านอินเตอร์เนต เป็นเทรนด์ของเครื่องวัดเสียงในสิ่งแวดล้อยุคปัจจุบัน