สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

4. Leq 


Leq ย่อมาจาก ( Equivalent sond level)    คือ ค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาที่ทำการวัด 


Leq มีความสำคัญมากในการตรวจวัดเสียงในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการพูดถึงค่าระดับเสียงที่ทำการบันทึกในเครื่องวัด เราจะให้ความสำคัญกับค่าระดับเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาการวัด เพราะเป็นการศึกษาพลังงานของเสียงที่มนุษย์ได้รับตลอดช่วงเวลาที่สัมผัสเสียง 


การหาค่า Leq หาได้จากสมการดังต่อไปนี้ 


3. Lmax


Lmax คือ LAF สูงสุดที่เกิดขึ้นระหว่างการวัด โดยเครื่องจะเก็บบันทึกค่าสูงสุดไว้แสดง

ค่า Lmax นิยมกำหนดเป็นเพดานของค่าระดับเสียงสูงสุดที่ได้ยิน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับเสียงได้รับเสียงดังมากจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายเสียง กำหนดให้ Lmax ต้องไม่เกิน 115 dBA แม้แต่เพียงครั้งเดียว 

สาเหตุเพราะ หากทำการวัดเสียงเป็นระยะเวลานานๆ เช่น 8 ชั่วโมง แต่เกิดมีเสียงดังในระดับเสียง แค่ช่วงสั้นๆ เพียงช่วงเดียว เป็นไปได้ที่ค่า Leq จะไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด แต่ระดับเสียงที่สูงมากๆ เช่น Lmax เกิน 115 dBA เพียงครั้งเดียว ก็อาจจะทำให้หูมนุษย์สูญเสียงการได้ยินแบบถาวรได้ 


5. Lpeak


Lpeak คือ ค่าระดับเสียงสูงสุดจริงๆ ของสัญญาณเสียงที่เข้ามายังไมโครโฟน (ไม่แปลงค่าเป็นค่า RMS)   มีประโยชน์ในการตรวจจับเสียงกระแทกโดยเฉพาะ ซึ่งในกรณีของกฎหมายเสียงกำหนดไว้ว่าค่า Lpeak จะต้องไม่เกิน 140 dBC 

สาเหตุที่ใช้ C-weighting เพราะว่า หูมนุษย์จะตอบสนองความดังในแต่ละความถี่ใกล้เคียงกับ C-weighting เมื่อระดับเสียงมีความดังมาก ๆ 



2. LF


LF ย่อมาจาก ( Level, Fast)    โดย Level คือค่าระดับเสียงแบบ RMS (Root Mean Square)  

มีหน่วย เดซิเบล  และ Fast คือช่วงเวลาที่เครื่องวัดเสียงทำการเฉลี่ยข้อมูลก่อนแสดงผล 


LF บนหน้าจอเครื่องวัด เราจะเห็นว่าตัวเลขจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามคลื่นเสียงที่เดินทางมาถึงเครื่องวัด


LF เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบค่าระดับเสียง คร่าวๆ เพื่อดูค่าระดับเสียง ณ ช่วงเวลานั้นว่าเสียงดังอยู่เท่าไหร่ 


ในทางกลับกัน หากเลือกเป็น LS (Level, Slow) เราจะเห็นตัวเลขบนหน้าจอ จะเปลี่ยนแปลงช้าลง  โดยปกติเราจะเลือก LS เมื่อเสียงที่ต้องการวัดมีค่าระดับเสียงที่ค่อนข้างคงที่ หากมีเสียงแปลกปลอมเกิดขึ้นเล็กน้อย จะไม่กระทบกับค่าระดับเสียงที่เรากำลังสนใจติดตามมันอยู่ 


สำหรับเครื่องวัดเสียง NTi ค่า LF เรายังสามารถที่จะเลือกว่า ต้องการใช้ค่าความถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency Weighting) แบบไหน ไม่ว่าจะเป็น A-weighitng, C-weighting, Z-weighiting


โดย ตัวแปรที่แสดงบนหน้าจอ หากมีการเลือก A-weighting จะเป็น LAF 



ในการตรวจวัดเสียงด้วยเครื่องวัดเสียง ค่าตัวแปรที่เราจะเห็นบนหน้าจอเครื่องวัดเสียงทุกยี่ห้อ และเกี่ยวข้องการงานตรวจวัดเสียงในสิ่งแวดล้อมที่จะต้องพบเจอ หลักๆ จะมี อยู่ 5 ตัวแปร ได้แก่ 


1. ค่า RMS คือ กระบวนการคำนวณสัญญาญเสียงที่วัดได้ เพื่อนำข้อมูลมาแสดงระดับความดังของเสียงบนหน้าจอเครื่องวัดเสียง

2. LF  คือ ค่าระดับเสียง ณ ขณะที่ทำการวัด โดย LAF จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขทุกๆ วินาที 

3. Lmax คือ ค่าระดับเสียงสูงสุด ของ LF ที่เครื่องได้จำค่าเอาไว้ 

4. Leq คือ ค่าระดับเสียงตามระยะเวลาที่วัด เหมาะสำหรับการวัดเสียงทั่วไปๆ ในสิ่งแวดล้อม 

5. Lpeak คือ ค่าระดับเสียงสูงสุด ที่เครื่องวัดได้ โดยไม่มีการแปลงเป็น รูปแบบ RMS ก่อน 

6. L90 คือ ค่าระดับเสียงต่ำสุด ที่มีข้อมูลผลการวัด 90 % ที่มีค่าระดับเสียงสูงกว่า 

1. ค่า RMS คืออะไร 


RMS ย่อมาจาก Root Mean Square เนื่องจากสัญญาณเสียงที่ถูกบันทึกโดยเครื่องวัดเสียงนั้น จะเป็นสัญญาณทั้ง + และ - สลับกัน การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของพลังงานเสียงสลับไปมา ย่อยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับศูนย์  เพื่อแก้ปัญหานี้ วิศวกรจึงใช้การยกกำลังพลังงานเสียงที่รับเข้ามา เพื่อให้ทุกค่าเป็นบวกทั้งหมดและจึงถอดรากที่สอง เพื่อนำค่าดังกล่าวมารายงานความดังของเสียงที่เครื่องวัดเสียงวัดได้ จึงเป็นที่มาของค่า RMS 





โดยตารางการคำนวณด้านล่าง จะแสดงสิ่งน่าสนใจของค่า Leq ก็คือ กรณีที่ระดับเสียงเปลี่ยนไปมาช่วงกว้างในแต่ละช่วงเวลา เปรียบเทียบกับระดับเสียงค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงเวลา 


จะเห็นได้ว่า ค่า Leq เหมาะกับการเป็นตัวแทนของค่าการตรวจวัดค่าระดับเสียงที่มีความสม่ำเสมอ 

โดยหากเราวัดระดับเสียงในแต่ละช่วงเวลาย่อยๆ ที่มีระยะเวลาแต่ละช่วงเท่าๆกัน สามารถใช้สมการด้านล่างคำนวณได้ง่ายขึ้น

RMS, LF, Leq, Lmax, Lpeak, L90 คืออะไร 

6. L90


L90 ย่อมาจาก ค่าระดับเสียงเปอร์เซนไทล์ที่ 90  อธิบายง่ายๆคือ 

หากเอาข้อมูลมาเรียงกันจากค่าความดังมากสุด ไปยังค่าระดับเสียงต่ำที่สุด

เปอร์เซนไทล์ที่ 90 คือ ค่าระดับเสียงต่ำที่สุด ที่มีข้อมูลอีก 90 % มีความดังของเสียงมากกว่า ดังแสดงในรูป  



รูปกราฟด้านบนใช้เพื่ออธิบายนิยามที่แตกต่างระหว่าง Leq Lmax และ Lpeak ดังต่อไปนี้

 

- เสียงประสีแดง คือ ค่าระดับความดังของเสียงจริง ยังไม่มีการแปลงไปเป็นรูปแบบ RMS เป็นค่าที่เครื่องวัดเสียงจะคอยบันทึกค่าที่สูงสุดไว้ เพื่อแสดงเป็นค่า Lpeak ในแต่ละช่วงเลา 


- เสียงสีน้ำเงิน คือ ค่าระดับเสียงที่แปลงเป็น RMS แล้ว ในทำนองเดียวกัน เครื่องวัดเสียงจะคอยบันทึกค่าระดับเสียงแบบ RMS สูงสุดไว้ เพื่อแสดงเป็นค่า Lmax ในแต่ละช่วงเวลา 


- เส้นสีเขียว คือ การเฉลี่ยค่าระดับเสียงตามช่วงเวลา โดยจะเฉลี่ยระดับเสียงไปเรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดการวัด เครื่องวัดเสียงจะแสดงค่าเฉลี่ยระดับเสียงตลอดช่วงเวลาการวัดในรูปแบบของ ค่า Leq