หากพิจารณาห้องประชุมจะพบว่า มันคือห้องโล่งๆ ที่ไม่มีเฟอร์นิเจอร์อะไรเลย นอกจากโต๊ะและเก้าอี้ ภายในห้อง
เมื่อเทียบกับห้องนอนที่มีทั้งเตียง ตู้เสื้อผ้า เครื่องนอน เสื้อผ้า พรม ซึ่งวัสดุพวกเส้นใย จะมีคุณสมบัติการดูดซับเสียงได้ดี
Credit เวป amarintv
สาเหตุที่บ่อยครั้งจำเป็นต้้องติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงไว้บนฝ้าเพราะ ห้องประชุม หลายแหล่งจะมีความสูงของห้องไม่มาก เช่น 2.4-3 เมตร แต่ห้องมีขนาดกว้างยาวค่อนข้างมาก เช่น อาจจะกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร เป็นต้น
ดังนั้น พื้นที่ผิวของฝ้าอาจจะเยอะกว่าพื้นที่ผิวของผนังห้องได้ นอกจากนั้นห้องประชุมส่วนใหญ่จะมีการใช้ผนังทำเป็นกระดานดำ จอโปรเจกเตอร์ ทำให้ไม่มีพื้นที่ติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงที่ผนังเลย ดังนั้นการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงบนฝ้าจึงมีความจำเป็น
ระบบแผ่นฝ้าฉาบเรียบแบบเจาะรู ที่ทั่วไปเรียกกันว่า ฝ้า Echo Bloc ซึ่ง เป็นการติดตั้งรูปแบบเดียวกับกับแผ่นฝ้าฉาบเรียบ แต่ตัวแผ่นจะมีรู ในรูปแบบต่างๆ
ข้อดีของฝ้าระบบนี้คือ ค่อนข้างดูเรียบร้อย แต่ฝ้าสามารถดูดซับเสียงได้ อย่างไรก็ดี ระบบแผ่นฝ้าเจาะรู จะมักเกิดความเข้าใจผิดในการใช้งานบ่อยครั้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงต่ำลงไปมากหรือไม่ช่วยดูดซับเสียงเลย ได้แก่
3.1 ติดตั้งแผ่นฝ้าเจาะรู โดยไม่มีการวางแผ่นดูดซับเสียงประเภทเส้นใย เช่น แผ่น ISO NOISE รุ่นพรีเมี่ยมไว้ด้านหลังแผ่นฝ้า ด้วยสาเหตุนี้จะทำให้ค่าการดูดซับเสียงลดต่ำลงถึง 60 % ซึ่งหลายครั้งพบว่า แม้แต่จะติดตั้งแผ่นฝ้าเจาะรูไว้เต็มพื้นที่ฝ้าแต่เสียงก็ยังไม่หายก้อง
รูปที่่1 ห้องทำงานที่มีแต่พื้นผิวสะท้อน ทำให้ห้องมีเสียงก้องมาก
รูปที่่ 7 การออกแบบคำนวณสภาพอคูสติกภายในห้อง ด้วยโปรแกรมคำนวณ
รูปที่่3 การติดตั้งแผ่น Cylence Zandera ไว้ที่ผนังห้อง เพื่อป้องกันเสียงสะท้อนจากด้านหลังห้องไปยังหน้าเวที
หากใครมีปัญหาห้องประชุมเสียงก้อง กำลังออกแบบอคูสติกภายในห้องประชุม สามารถสอบถามกับวิศวกรโดยตรงได้ (วิศวกรโบ๊ต 062-195-1909)
- ให้คำแนะนำในการเลือกวัสดุดูดซับเสียงที่เหมาะสม
- คำนวณปริมาณวัสดุดูดซับเสียง เพื่อควบคุมความก้องภายในห้อง ลดค่าใช้จ่ายแทนที่จะติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงเต็มทั้งห้อง
- บริการตรวจวัดสภาพอคูสติกภายในห้อง ทั้งก่อนและหลัง เพื่อออกแบบ ให้คำปรึกษา และส่งมอบงาน
รูปที่่5 ระบบแผ่นฝ้ายิปซั่มฉาบเรียบเจาะรู จำเป็นต้องมีการวางแผ่นซับเสียงประเภทเส้นใย ISONOISE รุ่นพรีเมี่ยมไว้ด้านบน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับเสียง
รูปที่่4 การติดตั้งแผ่น M Board บนฝ้าเพดาน ทำให้พื้นผิวฝ้ามีคุณสมบัติดูดซับเสียงที่สูง
รูปที่่4 ตัวอย่างระบบแผ่นฝ้าฉาบเรียบเจาะรู เพื่อช่วยในการดูดซับเสียง
รูปที่่ 6 การตรวจวัดสภาพอคูสติกภายในห้องด้วยเครื่องวัดที่ทันสมัย
3.2 ติดตั้งแผ่นฝ้าเจาะรูปกับฝ้าฉาบเรียบเดิม โดยไม่มีช่องว่างเลย โดยการติดตั้งแบบนี้จะทำให้เสียงเดินไปกระทบแผ่นฝ้าไม่ได้ถูกกักเก็บภายในช่องว่างด้านในและถูกสลายพลังงาน แต่กลับกันเสียงจะสะท้อนกลับเข้ามายังภายในห้องทั้งหมด เป็นผลให้ห้องยังคงมีเสียงก้องเหมือนเดิม ดังเช่นก่อนการปรับปรุง
สนใจสั่งซื้อวัสดุดูดซับเสียงสำหรับภายในห้องประชุม ให้คำแนะนำด้วยวิศวกรที่จบด้านเสียงโดยตรง ติดต่อ วิศวกรโบ๊ต 062-195-1909
รูปที่่2 ห้องนอนที่พื้นผิวส่วนใหญ่เป็นวัสดุประเภทเส้นใย ดูดซับเสียงได้ดี ทำให้ห้องไม่ก้อง
รูปที่่3 การติดตั้งแผ่น ฟองน้ำดูดซับเสียง Top Tone เพื่อควบคุมเสียงก้อง
Credit เวป Baanidea
ในปัจจุบันมีวัสดุดูดซับเสียงที่ถูกนำมาใช้ออกแบบและติดตั้งภายในห้องประชุมอย่างมากมาย โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. วัสดุดูดซับเสียงที่ติดตั้งบนผนังห้อง เช่น แผ่น Cylence Zandera หรือแผ่นฟองน้ำซับเสียง TopTone
นอกจากจะมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงกลางแหลมได้ดีแล้ว แผ่น Cylence Zandera ยังมีขนาดและสีที่หลากหลาย ช่วยในการออกแบบและตกแต่งลวดลายไม่ซ้ำแบบใคร
โดยตำแหน่งที่นิยมติดตั้ง ตำแหน่งแรก คือผนังด้านหลังสุดของห้องประชุม หรือฝั่งตรงข้ามกับเก้าอี้ของประธานในการประชุม เหตุผลเพราะนอกจากจะใช้เพื่อควบคุมความก้องภายในห้อง ยังลดเสียงสะท้อนจากด้านหลังห้องกลับมาฝั่งหน้าห้อง หรือที่เสียงว่าเสียง เอคโค่ (Echo)